Review:ASUS ROG Strix GeForce® GTX 1080 OC edition 8GB 11Gbps GDDR5X พลังที่กว้างกว่ากับความแรงที่มากกว่า

ROG Strix

นอกเรื่องไปไกลเพราะต้องพูดถึงเรื่องของการ์ดจอใหม่จากทาง Nvidia ก่อน โดยวันนี้ทาง ASUS ได้ทำการจัดส่งการ์ดจอ GTX 1080 11Gbps GDDR5X มาให้ทางเราทำการทดสอบครับ โดยตัวการ์ดจออยู่ในเวอร์ชัน Strix Gaming

การสังเกตที่ง่ายที่สุดนั้นให้ดูได้จากทางด้านหน้ากล่องเลยครับเนื่องจากจะมีเขียนเอาไว้ใต้ชื่อรุ่น GTX 1080 เอาไว่ว่า 11 Gbps GDDR5X นั้นเอง

สำหรับทางด้านหลังของตัวกล่องจะมีเขียนบอกรายละเอียดเอาไว้หลายๆอย่างโดยตัวนี้ผมขอเน้นเรื่องระบบระบายความร้อนแล้วกันนะครับเนื่องจากเป็นฮิตซิงค์รุ่นใหม่จากทาง ASUS ที่ได้มีการเพิ่มตัวหน้าสัมผัสของชิพ GPU ทำให้สามารถส่งถ่ายความร้อนออกมาได้ดีกว่าและยังเพิ่มความเรียบโดยการปัดเงามาจนสะท้อนเป็นกระจกเลยทีเดียว

ภายในตัวกล่องนั้นจะมีคู่มือการใช้งานจำนวน 1 เล่มพร้อมทั้งแผ่น DVD ไดรเวอร์ พร้อมสายแปลงไฟเลี้ยงการ์ดจอให้เป็น 8 Pin สุดท้ายจะเป็นตัวเอาไว้รัดเก็บสายไฟเพื่อความเรียบร้อยครับ

สำหรับตัวการ์ดจอนั้นต้องบอกว่าถ้ามองผ่านๆไปจะดูไม่ออกเลยทีเดียวว่าเป็นรุ่นไหนเพราะทางด้านหน้าของทาง ASUS GTX1080 นั้นจะมาเป็นแบบระบบระบายความร้อนแบบ 3 พัดลมเป่าลงไปยังฮิตซิงค์

โดยรอบๆตัวพัดลมของการ์ดจอนี้จะมีเส้นพลาสติกใสติดเอาไว้อยู่รอบๆเป็นเส้นๆสวยงามเพื่อให้เวลาใช้งานจะมีแสงไฟ RGB ส่องผ่านติดสว่างขึ้นมาครับ

มองจากทางด้านบนนั้นจะเห็นว่าตัวการ์ดจอมีความหนามากถึง 2.5 สล๊อตด้วยกันนั้นก็เพราะว่าทาง ASUS ได้เพิ่มพื้นที่ตัวฮิตซิงค์ขึ้นมาเพื่อให้สามารถระบายความร้อนออกไปได้ดีมากกว่าเดิมครับ

ในส่วนของทางด้านข้างหรือขอบการ์ดจอนั้นจะมีโลโก้ REPUBLIC OF GAMERS ติดเอาไว้อยู่ด้วยโดยโลโก้นี้เวลาใช้งานแน่นอนมันมีไฟส่องสว่างเช่นกัน

จุดเล็กๆบงบอกความเป็น Geforce GTX

สำหรับทางด้านหลังของตัวการ์ดจอนี้จะมีแผ่นเหล็กปิดเอาไว้ครับ โดยแผ่นนี้จะช่วยเรื่องของการเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัว PCB ของการ์ดจอไม่ให้งอไปตามน้ำหนักของตัวฮิตซิงค์ ป้องกันความเสียหายในระยะยาว

และเท่านั้นยังไม่พอส่วนของทางท้ายการ์ดจอจะมีโลโก้ ROG ติดเอาไว้เวลาใช้งานจะมีแสงสว่างส่องผ่านโลโก้ขึ้นมาครับ

สำหรับตรงส่วนของภาคชุดคอลโทรการจ่ายไฟจะมีการเจาะรูเอาไว้ให้เรามองเห็นแยกออกมาเป็นทั้งหมด 4 ชุดด้วยกันครับ

แน่นอนว่าการ์ดจอตัวนี้ยังสามารถเชื่อมต่อแบบ SLI ได้เช่นกันและมันก็รองรับการต่อ SLI กับ GTX 1080 ตัวเก่าที่ไม่ใช่แรม 11 Gbps ได้นะครับในส่วนนี้แอดมินลองแล้วผ่าน

สำหรับไฟเลี้ยงของตัวการ์ดจอนั้นจะต้องเสียบสาย PCI-E แบบ 8 pin และ 6 pin อย่างละหนึ่งด้วยกันครับ โดยพาเวอร์ซัพพลายต้องการใช้งานประมาณ 650 W ขึ้นไป

สำหรับรูๆตรงนี้จะเป็นจุเอาไว้เช็คไฟเลี้ยงส่วนต่างๆของตัวการ์ดจอเหมาะสำหรับนัก Overclock แบบ EXTREME นั้นเอง

สำหรับการเชื่อมต่อออกสู่จอภาพนั้นจะมีพอร์ต DVI-D , HDMI จำนวน 2 พอร์ต , Display Port จำนวน 2 พอร์ต

และพิเศษกว่าใคร ตรงตำแหน่งท้ายการ์ดจอนั้นมีช่องสำหรับเสียบพัดลมแยกแบบ 4 pin มาให้อีกด้วย ทำให้คนที่มีพัดลมภายในเคสเยอะๆ สามารถเก็บสายและเชื่อมต่อสายได้ตามความต้องการมากยิ่งขึ้น

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า