Review:Noctua NH-U9 TR4-SP3 ตัวเล็กใจใหญ่เกิดมาดับร้อน AMD Ryzen Threadripper โดยเฉพาะ

CPU
AMD Threadripper 1920x
CPU Cooler
Noctua NH-U9 TR4-SP3
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
ASRock X399 Taichi
Memory
G.Skill Trident Z RGB 3600 MHz 32 GB CL16
VGA Card
ASUS ROG Strix Vega 64
SSD
Plextor m8pe 256GB
SSD
WD Blue 1 TB
HDD
WD Gold 8 TB
Power Supply
Cooler Master 1200w mij
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ Noctua NH-U9 TR4-SP3

หลังจากเกริ่นกันมาพอสมควรแล้ว เรามาดูการทดสอบประสิทธิภาพของ Noctua NH-U9 TR4-SP3 กันดีกว่า สำหรับขั้นตอนการประกอบ เพื่อนๆ สามารถเปิดอ่านได้จากคู่มือนะครับ ทำได้ไม่ยากเลย

ซีพียูที่ใช้ในครั้งนี้ จะเป็น AMD Ryzen Threadripper 1920x บนซ็อกเกต SP3r2 ซึ่งสามารถใส่ฮีตซิงค์ลงได้อย่างพอดี ส่วนนี้คือจุดเด่นเลยหน้าสัมผัสจะใหญ่เท่ากับตัว CPU

บรรยากาศในการทดสอบอยู่ในห้องแอร์ อุณหภูมิห้อง 28 องศา

 

และนี่คือผลการทดสอบ Stress Test ด้วย AIDA64 และตรวจสอบอุณหภูมิด้วย HWMonitor โดยเปรียบเทียบทั้งก่อนและหลังการ Overclock ครับ

ก่อน Overclock Ryzen Threadripper 1920x (3.7 GHz) อุณหภูมิจะอยู่ราว 68 องศาเซลเซียส

 

หลัง Overclock Ryzen Threadripper 1920x (4.0 GHz) อุณหภูมิจะอยู่ราว 73 องศาเซลเซียส

ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากการ Overclock ที่ 4.0 GHz เพิ่มขึ้นมาประมาณ 7% (73 องศาเซลเซียส) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม เพราะโดยปกติแล้ว อุณหภูมิในการทำงานแบบ Full load ของซีพียูที่ดี ไม่ควรเกิน 95 องศาเซลเซียสครับ

หลังจากเทสเสร็จเรียบร้อยลองแกะฮิตซิงค์ออกมาดู จะเห็นว่าซิลิโคนนั้นกระจายตัวทั่วหน้าสัมผัสเลยและครับ ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของฮิตซิงค์รุ่นนี้เลย ทำให้สามารถดึงความร้อนขึ้นมายังตัวฟินระบายความร้อนได้เต็มที่

บทสรุปของการใช้งานนะครับ ผมคิดว่า Noctua NH-U9 TR4-SP3 ทำงานออกมาได้ดีเยี่ยม สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังให้เสียงรบกวนที่น้อยกว่าฮีตซิงค์ทั่วไป มีขนาดที่พอเหมาะ ช่วยให้การไหลเวียนอากาศภายในเคสทำได้ดียิ่งขึ้นด้วยครับสำหรับใครที่กำลังมองหาฮีตซิงค์สำหรับซีพียู AMD Ryzen Threadripper ดีๆ สักตัวหนึ่ง ไม่ควรมองข้าม Noctua NH-U9 TR4-SP3 นะครับ เพราะประสิทธิภาพดี คุ้มค่า พร้อมด้วยประกันสินค้า 6 ปีเต็ม !!

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า