ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ แล้ว ค่าพวกนี้มันบ่งบอกอะไรกัน เรามาไขข้อข้องใจนี้ไปด้วยกันครับ

TDP (Thermal Design Power) ศัพท์โคตรเก่า

TDP นี่น่าจะเป็นศัพท์เรื่องพลังงานของอุปกรณ์คอมที่เก่าที่สุด และหลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดีในซีพียูครับ คำเต็ม ๆ ที่นิยมเรียก คือ Thermal Design Power แต่บางที่จะใช้คำเต็มว่า Thermal Design Parameter ซึ่งนิยามมันอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมความหมายยังคล้าย ๆ เดิม

Thermal Design Power ทั้งซีพียูและการ์ดจอ จะหมายถึงพลังงานที่อุปกรณ์ต้องนำมาใช้ในการระบายความร้อน ซึ่งถ้าพิจารณาจากนิยามแล้ว มันอาจจะไม่ใช่พลังงานที่ซีพียูหรือการ์ดจอดึงไปใช้โดยตรง แต่เป็นพลังงานที่นำมาใช้กับระบบระบายความร้อน เพื่อทำให้ซีพียูหรือการ์ดจอเย็นลง

 

TGP และ TBP นิยามของสองค่ายเขียว-แดง

และด้วยความที่ TDP มันอ้อมไปอ้อมมาเยอะไปนิด ค่ายการ์ดจอทั้ง NVIDIA และ AMD จึงกำหนดนิยามใหม่ที่เหมาะสมกว่า เพื่ออ้างถึงการใช้พลังงานของตัวการ์ดจอโดยตรง จึงเกิดเป็นค่า TGP และ TBP

ข้อมูลจาก NVIDIA กล่าวว่า TGP (Total Graphics Power) เป็นค่าที่ NVIDIA ใช้ ส่วน TBP (Total Board Power) เป็นค่าที่ AMD ใช้ แสดงว่า TGP และ TBP คือค่าในความหมายเดียวกัน อาจจะมีแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น แต่คอนเซ็ปต์มันเหมือน ๆ กัน และใช้กันคนละค่ายเท่านั้นเองครับ

TGP และ TBP คือค่าบ่งบอกพลังงานที่ใช้ในการทำงานของการ์ดจอและส่วนประกอบของการ์ดจอ (รวม VRAM และระบบระบายความร้อน) ซึ่งตรงนี้จะเห็นว่าค่านี้ บ่งบอกถึงการใช้พลังงานของตัวการ์ดจอที่ตรงไปตรงมามากกว่า TDP

NVIDIA เขียน TGP

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสับสน เวลาเช็กพลังงานของการ์ดจอ อยากให้เช็กจากเว็บของ NVIDIA หรือ AMD โดยตรง เพราะบางเว็บ เช่น Techpowerup พี่แกยังใช้ค่า TDP อยู่เลย ทั้งที่มันคือค่า TGP ของการ์ดจอ RTX 5080 ครับ

Techpowerup เขียน TDP

 

Intel ใช้ทั้ง TGP และ TBP

ส่วนของ Intel เนื่องจากเขามีทั้งการ์ดจอในโน้ตบุ๊กและการ์ดจอเดสก์ท็อป ดังนั้น ค่ายฟ้าจึงมีการนำคำนิยามการใช้พลังงานทั้ง TGP และ TBP มาปรับใช้ในรูปแบบของตัวเอง

โดย TGP ของ Intel จะใช้กับการ์ดจอในโน้ตบุ๊ก โดยประเมินจากพลังงานที่การ์ดจอใช้ + พลังงานที่สูญเสียไปกับสิ่งแวดล้อม + พลังงานที่ VRAM ใช้ เพราะฉะนั้นค่าของ TGP ในการ์ดจอ Intel ของโน้ตบุ๊กจะบอกเป็นช่วง เช่น การ์ดจอ A570M จะมีค่า TGP อยู่ในช่วง 75-95W เนื่องจากมันมีค่าที่ไม่คงตัวอยู่ด้วย อย่างพลังงานที่สูญเสียไปกับสิ่งแวดล้อมในแต่ละกรณีมันไม่เท่ากันครับ

ส่วนค่า TBP ของ Intel จะใช้กับการ์ดจอเดสก์ท็อป โดยใช้นิยามเดียวกับ TGP ของ NVIDIA และ TBP ของ AMD คือ เป็นพลังงานที่ใช้ในการทำงานของการ์ดจอและส่วนประกอบของการ์ดจอนั่นเองครับ

เอาล่ะแบบนี้เวลาเราคำนวณพลังงานของระบบก็จะทำได้ง่ายขึ้นแล้ว หรือถ้าใครขี้เกียจคำนวณเองก็ใช้เว็บไซต์ช่วยคำนวณได้ครับ (อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่)

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

เกมเมอร์พร้อมบวก! “realme 14 Series 5G” คอลแลบ “Free Fire” พร้อมขึ้นแท่นเกมมิ่งโฟนแห่งปีด้วยบอดี้สุดล้ำปฏิวัติวงการ โดดเด่นด้วย Mecha Design และกรอบไฟ Victory Halo สุดเฉี่ยว

สร้างปรากฏการณ์สุดว้าวก่อนการเปิดตัว! เมื่อ realme (เรียลมี) แบรนด์สมาร์ตโฟนเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศการจับมือเป็นพันธมิตรอีกครั้งระหว่างเกมชูตติ้งสุดมันส์ระดับโลก “Free Fire” กับสมาร์ตโฟนรุ่นล่าสุด...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า